วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

ข้าว​ (ซื้อ) ​ยาก​ ​หมาก​ ​แพง​ ​ระวัง​! ​โลกเผชิญวิกฤตอาหารโลก

สถานการณ์การประท้วง​ใน​หลายประ​เทศ​ทั่ว​โลก​ ​ทั้ง​แอฟริกา​ ​ละตินอเมริกา​ ​เรื่อยมาจน​ถึง​เอเชีย​ซึ่ง​มีต้นรากมา​จาก​ปัญหาราคาอาหารที่​แพงขึ้นอย่างรวด​เร็ว​ ​และ​ภาวะขาดแคลนสินค้า​เกษตรหลายชนิด​ ​กำ​ลังจุดกระ​แสวิตกขึ้น​ทั่ว​ไป​ ​ส่งผล​ให้​องค์การระหว่างประ​เทศออกโรงประกาศคำ​เตือน​ถึง​ผลกระทบที่อาจ​จะ​ตามมา​

ราคาสินค้า​เกษตร​ส่วน​ใหญ่​พุ่งทะยานขึ้นอย่างผิดตา​ใน​ปีนี้​ ​โดย​เฉพาะราคาข้าว​และ​ข้าวสาลี​แพงขึ้น​ 2 ​เท่า​ตัว​ ​เฉพาะข้าวรายการเดียวราคาพุ่ง​ใน​สัปดาห์​เดียว​ถึง​ 30%

แยกย่อยลงมาพบว่า​ ​ราคาข้าวเปลือกพุ่งขึ้น​ 2.7% ​มาปิดที่​ 20.20 ​ดอลลาร์ต่อ​ 100 ​ปอนด์​ ​หรือ​ปรับตัวสูงขึ้น​ 77% ​เมื่อเทียบ​กับ​ตุลาคมปีกลายที่​เคยมีราคาซื้อขายที่​ 11.40 ​ดอลลาร์ต่อ​ 100 ​ปอนด์​ ​ขณะที่ราคาข้าวโพด​ใน​ตลาดชิคา​โกปรับตัวขึ้น​ 4.25 ​เซนต์​แตะระดับ​ 6.025 ​ดอลลาร์ต่อ​ 25 ​กิ​โลกรัม​ ​ซึ่ง​เป็น​ระดับสูงสุด​ใน​ประวัติศาสตร์​เมื่อวันพฤหัสบดี​ (3 ​เม​.​ย​.) ​เป็น​ครั้งแรกก่อนปรับตัวมาปิดตลาดที่​ 6 ​ดอลลาร์​ ​ซึ่ง​สูงกว่าราคาของเดือนตุลาคมปีกลาย​ 75%

ราคาข้าวโพดทำ​สถิติสูงสุดท่ามกลาง​ความ​ต้อง​การ​ ​ที่​เพิ่มขึ้น​ ​ทั้ง​เพื่อทำ​อาหารสัตว์​และ​ผลิตไบโอดี​เซล​ ​และ​ ​การคาดการณ์ว่ากำ​ลังการผลิต​จาก​สหรัฐ​ ​ผู้​ผลิตราย​ใหญ่​ที่สุด​ ​ของโลก​จะ​ลดลงหลัง​จาก​กระทรวงเกษตรของสหรัฐเปิดข้อมูลว่า​ ​ปีนี้ชาวไร่​จะ​ปลูกข้าวโพดประมาณ​ 86 ​ล้านเอเคอร์​ ​ลดลง​จาก​ปีกลาย​ 8%

ด้านราคาถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น​ 14 ​เซนต์​ ​เป็น​ 12.57 ​ดอลลาร์ต่อ​ 25 ​กิ​โลกรัม​ ​ขณะที่ราคาข้าวสาลีปรับตัวขึ้นไป​อยู่​ที่​ 9.37 ​ดอลลาร์ต่อบาร์​เรล​ ​สูงขึ้น​จาก​ราคา​เดือนตุลาคม​ 25% ​ทั้ง​นี้ราคาข้าวสาลี​เคยทำ​สถิติสูงสุดที่​ 12.80 ​ดอลลาร์​ ​เมื่อวันที่​ 27 ​กุมภาพันธ์​ ​ซึ่ง​สูงกว่า​เดือนตุลาคม​ 71%

เมื่อ​เร็วๆ​ ​นี้รายงาน​ฉบับ​ล่าสุดของธนาคารโลกระบุว่า​ ​เพียง​ 2 ​เดือนแรกของปี​ 2551 ​ราคาน้ำ​มันพืช​และ​น้ำ​มันที่​ใช้​ประกอบอาหารพุ่งขึ้น​ 21% ​และ​ 15% ​ตามลำ​ดับ​ ​ขณะที่ราคา​ ​โลหะ​เพิ่มขึ้น​ 27% ​โดย​เฉพาะ​แร่​เหล็ก​ ​ทองแดง​ ​ตะกั่ว​ ​อะลูมิ​เนียม​ ​และ​โลหะมีค่า



สา​เหตุสำ​คัญของราคาสินค้า​เกษตรที่พุ่งทะยานหลาย​เท่า​ตัว​ ​นอก​จาก​จะ​มา​จาก​การแย่งพื้นที่​เพาะปลูกเพื่อผลิตพืช​ให้​น้ำ​มันรับกระ​แสพลังงานทางเลือกอย่างไบโอดี​เซลแล​�​ว​ ​ยัง​มา​จาก​สภาพอากาศ​ ​ที่​แปรปรวน​ ​อาทิ​ ​วิกฤตภัยแล้ง​ใน​ออสเตรเลีย​ ​และ​ภัยพิบัติ​ใน​หลายประ​เทศที่​เป็น​แหล่งเพาะปลูกผลิตการเกษตรสำ​คัญๆ​ ​โดย​เฉพาะข้าว​

เช่น​ ​วิกฤตน้ำ​ท่วม​ใน​เวียดนาม​ ​ขณะที่พายุหิมะ​ใน​จีน​ ​และ​ประ​เทศ​ใน​เอเชีย​ใต้​ ​ทำ​ให้​เกิดภาวะขาดแคลนอาหารจนจีน​ต้อง​ ​สั่งนำ​เข้า​ข้าว​และ​สินค้า​เกษตร​อื่นๆ​ ​ลอต​ใหญ่​เพื่อรองรับ​ความ​ต้อง​การของประชากร​ ​ส่วน​อินเดีย​ ​บังกลา​เทศ​ ​และ​ปากีสถาน​ ​สั่งระงับการส่งออกเพื่อบรรเทาปัญหา​ใน​ประ​เทศ​ ​ทั้ง​การขาดแคลน​และ​ราคาสินค้า​แพง

ส่งผล​ให้​ประ​เทศ​อื่นๆ​ ​ต้อง​ระดมมาตรการเพื่อรับมือ​กับ​ ​สถานการณ์ที่​เชื่อว่า​จะ​เป็น​วิกฤตอาหารของโลก​ใน​ระยะสั้น​ ​ดังกรณีของทางการซาอุดีอาระ​เบียที่​เพิ่งประกาศลดภาษีนำ​เข้า​สินค้าอาหารหลายชนิด​ใน​สัปดาห์ที่ผ่านมา​ ​อาทิ​ ​ลดภาษีนำ​เข้า​ ​ข้าวสาลี​เหลือ​ 0% ​จาก​เดิม​ 25% ​รวม​ถึง​ลดภาษีนำ​เข้า​สัตว์ปีก​ ​ผลิตภัณฑ์นม​ ​และ​น้ำ​มันพืช

ขณะที่​ใน​อาร์​เจนตินา​ ​ชาวนาจำ​นวนมากออกมาประท้วง​ ​รัฐบาลของประธานาธิบดี​ ​คริสตินา​ ​เฟอร์นานเดซ​ ​ให้​กระจาย​ ​ผลประ​โยชน์​จาก​ราคาสินค้า​โภคภัณฑ์ที่​เพิ่มขึ้นอย่าง​ทั่ว​ถึง​ ​โดย​เพิ่มภาษีส่งออกถั่วเหลือง​และ​พืชผล​อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม​ ​ความ​วิตกของสถาบันเสาหลักของโลก​ ​ไม่​ได้​หยุด​อยู่​แค่วิกฤตราคา​และ​ภาวะขาดแคลน​ ​แต่​ยัง​มองเลยไป​ถึง​ผลกระทบข้างเคียง​จาก​สถานการณ์ปัจจุบัน​ ​โดย​เฉพาะการคุกคามของภาวะ​เงินเฟ้อดังกรณี​ใน​ฟิลิปปินส์ที่​เงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุด​ใน​รอบ​ 21 ​ปี​ ​ที่​ 6.4% ​ขณะที่​เงินเฟ้อจีนทะยาน​ถึง​ 8.7% ​ใน​เดือนกุมภาพันธ์​ ​สูงสุด​ใน​รอบ​ 11 ​ปี​ ​และ​อินเดีย​อยู่​ที่​ 6.8% ​สูงสุด​ใน​รอบ​ 13 ​เดือน

ผลกระทบ​ยัง​ขยายวง​ถึง​ภาคเศรษฐกิจ​อื่นๆ​ ​ซึ่ง​ประ​เมินว่า​ ​ราคาอาหารตลอดจนราคาน้ำ​มัน​ ​และ​โลหะที่​แพงลิ่ว​จะ​ส่งผล​ให้​หลายประ​เทศ​ใน​เอเชียสูญเสียราย​ได้​ประมาณ​ 1% ​ของ​ ​ผลิตภัณฑ์มวลรวม​ใน​ประ​เทศ​ ​ยกตัวอย่าง​ความ​เสียหายทางเศรษฐกิจของจีน​ ​ฟิลิปปินส์​ ​และ​ปาปัวนิวกินีคิด​เป็น​ 0.5% ​ของจีดีพี

ธนาคารโลกเตือนว่า​ ​วิกฤตราคาสินค้า​เกษตร​และ​น้ำ​มัน​ ​กำ​ลัง​เป็น​ปัญหาท้าทายที่ยิ่ง​ใหญ่​ของรัฐบาล​ใน​เอเชียตะวันออก​ ​มากกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงิน​ใน​สหรัฐ​ ​และ​อัตราการเติบโต​ ​ที่ชะลอลง​ทั่ว​โลก

อีก​ทั้ง​คาดว่าวิกฤตราคา​และ​การขาดแคลนอาหารกำ​ลังขึ้นมา​เป็น​วาระร้อนของการประชุมประจำ​ปีของกองทุนการเงินระหว่างประ​เทศ​ ​ร่วม​กับ​ธนาคารโลก​ใน​วอชิงตัน​ ​สัปดาห์นี้หากพิจารณา​ ​จาก​คำ​กล่าวของนายโรเบิร์ต​ ​เซลลิก​ ​ประธานธนาคารโลก​ ​ที่ตั้ง​ ​ข้อสังเกตว่า​ ​วิกฤตอาหารโลกกำ​ลัง​ได้​รับ​ความ​สนใจ​จาก​บรรดานักการเมือง​ใน​ทุกประ​เทศ​ ​พร้อม​กับ​เรียกร้อง​ให้​นานาประ​เทศ​โดย​เฉพาะชาติร่ำ​รวยอย่างสหรัฐ​ ​ญี่ปุ่น​ ​และ​สหภาพยุ​โรป​ ​ประสาน​ความ​ร่วมมือเพื่อรับมือวิกฤตอาหาร​ ​และ​ภาวะขาดแคลน​ ​ที่สร้าง​ความ​เดือดร้อนไป​ทั่ว​โลก​ใน​ขณะนี้

ใน​อีกด้านหนึ่ง​ ​องค์การสหประชาชาติระบุว่า​ ​สถานการณ์​ ​ดังกล่าวอาจทำ​ให้​ 36 ​ประ​เทศ​ทั่ว​โลก​ ​รวม​ถึง​จีน​และ​ประ​เทศ​ใน​แถบแอฟริกา​ ​เผชิญวิกฤตอาหาร​ใน​ปีนี้​เนื่อง​จาก​สต๊อกพืชพันธุ์ธัญญาหารหลายชนิด​ ​อาทิ​ ​ข้าว​ ​ข้าวสาลี​ ​ข้าวโพด​ ​ถั่วเหลืองลดลงสู่ระดับต่ำ​สุด​ใน​รอบหลายปี​ทั่ว​โลก​

รวม​ถึง​ใน​ประ​เทศ​ผู้​ผลิตรายสำ​คัญอย่างสหรัฐ​และ​ออสเตรเลีย​ ​ขณะที่ธนาคารโลกเตือนว่า​ ​อาจเกิด​ความ​ไม่​สงบ​ใน​รูปแบบต่างๆ​ ​โดย​เฉพาะการประท้วงครั้ง​ใหญ่​ใน​ 33 ​ประ​เทศ​ทั่ว​โลก​ ​ดังที่ปรากฏขึ้น​แล้ว​ใน​อาร์​เจนตินา​ ​และ​ฟิลิปปินส์

เหนือ​อื่น​ใด​ ​นักวิชาการบางรายเริ่มวิตกว่า​ ​ผลพวงของวิกฤตขาดแคลนอาหาร​เป็น​ชนวน​ให้​เกิดกระ​แสชาตินิยมทางเศรษฐกิจ​ ​ใน​ลักษณะที่บางรัฐบาลกำ​ลังพยายายามสร้างอุปสรรคทางการค้า​ ​โดย​มี​แรงผลักดันมา​จาก​การเมือง​ ​เนื่อง​จาก​ ​ภาวะขาดแคลนกำ​ลัง​เป็น​ชนวน​ให้​เกิดการประท้วง​ใน​หลายประ​เทศ​ ​ส่งผล​ให้​รัฐบาล​ใน​ประ​เทศ​ผู้​ผลิตสินค้า​เกษตร​ ​สั่งระงับการส่งออกชั่วคราว​ ​เพื่อ​ ​ลดผลกระทบ​ใน​ด้านราคา​ ​ขณะที่ประ​เทศ​ผู้​นำ​เข้า​สั่งลดภาษี​ ​สินค้า​เกษตร​ ​เจรจา​โดย​ตรง​กับ​รัฐบาลประ​เทศ​ผู้​ผลิต​ ​เพื่อขอซื้อ​โดย​ตรง​ ​ป้อง​กัน​ไม่​เกิดภาวะขาดแคลน​ ​ซึ่ง​จะ​ยิ่งทำ​ให้​การประท้วง​ใน​ ​ประ​เทศรุนแรงขึ้น

ดังกรณีที่ประธานาธิบดี​ ​กลอเรีย​ ​อาร์​โรโย​ ​ร้องขอไป​ยัง​นายกรัฐมนตรี​เวียดนาม​เป็น​การ​ส่วน​ตัว​ ​ให้​รับปากจัดหาข้าว​ให้​แก่ฟิลิปปินส์​ ​เพราะ​เป็น​ที่ทราบ​กัน​ดีว่า​ ​ฟิลิปปินส์​ ​เป็น​ประ​เทศที่พึ่งพาการนำ​เข้า​สินค้าอาหาร​ ​และ​หากการนำ​เข้า​หยุดชะงัก​ ​หรือ​ ​ขาดแคลน​ ​ราคา​ใน​ประ​เทศ​จะ​วิ่งขึ้นไปอีก​ ​และ​ยาก​จะ​หยุดการประท้วง​ไม่​ให้​ขยายวง

หรือ​อีกกรณีหนึ่ง​ ​การที่สหรัฐประกาศผลักดัน​ใน​เรื่องเอทานอล​ ​ส่งผล​ให้​มีการนำ​ข้าวโพด​ 15 ​ล้านตันมาผลิตพลังงานทางเลือก​ ​ชนิดนี้​ใน​ปี​ 2543 ​ก่อน​จะ​เพิ่มปริมาณ​เป็น​ 85 ​ล้านตัน​ใน​ปี​ 2550 ​ส่งผล​ให้​ข้าวโพด​ใน​ตลาดโลกขาดแคลนอย่างรวด​เร็ว​ ​กระทบ​โดย​ตรงต่อประ​เทศ​ใกล้​เคียงคือ​ ​เม็กซิ​โก​ ​ที่บริ​โภคสินค้า​เกษตรชนิดนี้​ ​เป็น​ชนวนประท้วง​ใหญ่​เมื่อปีที่​แล้ว

ประชาชาติ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ25 มกราคม 2552 เวลา 23:16

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ

ภาพถ่ายดาวเทียม