วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โศกนาฏกรรมนกเหล็ก จากอดีตถึงวันนี้

ที่มา: Manager Online

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น






อุบัติเหตุบนเครื่องบินอาจเป็นเรื่องที่ไม่ ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่เชื่อได้ว่าคงเป็นสิ่งที่ทุกคนกลัว และไม่อยากจะเจอมากที่สุด เพราะโอกาสที่จะรอดจากเรื่องนี้มาได้นั้นต่ำมาก!!! เว้นแต่คุณจะห้อยพระดี ดลบันดาลปาฏิหาริย์ได้ หรือไม่ก็ต้องเป็นคนโชคดีสุดๆ

เมือง ไทยก็ต้องพบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกครั้งที่เกาะสมุย ถึงแม้ครั้งนี้จะมีคนตายแค่คนเดียวก็ตาม และจากเหตุการณ์นี้เอง จึงถือโอกาสพาทุกท่านย้อนความจำกลับไปดูอุบัติเหตุบนท้องฟ้าที่น่าโศกสลด ในประเทศไทยว่ามีอะไรบ้าง และมีความสูญเสียเกิดขึ้นแค่ไหน

19 กรกฎาคม 2505 (นครราชสีมา)

เหตุ เศร้าสลดในเมืองไทยครั้งนี้ เกิดขึ้นจากเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช-106 โคเมต์ ของสายการบินยูไนเต็ด อาหรับเอมิเรตส์ โดยหลังบินออกจากสนามบินดอนเมืองไปได้ไม่เท่าไหร่ เครื่องยนต์ก็เกิดขัดข้องกะทันหัน ประกอบช่วงนั้นวิทยาการทางบินยังไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้นักบินไม่สามารถบังคับเครื่องได้ ส่งผลให้เครื่องบินดิ่งพสุธาลงมาที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผู้โดยสารจำนวน 26 คนเสียชีวิตยกลำ


29 เมษายน 2516 (นครปฐม)

ถึง แม้อุบัติเหตุครั้งจะเกิดขึ้นกับเฮลิคอปเตอร์ แต่ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่โด่งดังไปทั่วประเทศ เพราะผู้โดยสารบนเครื่อง ส่วนใหญ่เป็นนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และที่สำคัญในคณะยังมี พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และดาราสาว (ในขณะนั้นเช่นกัน) เมตตา รุ่งรัตน์ ร่วมเดินทางด้วย รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุของการเดินทางครั้งนี้ว่า เพื่อฉลองวันเกิดให้กับนายทหารคนหนึ่ง แถมยังมีกิจกรรมล่าสัตว์ป่า ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

แต่ อย่างว่า คนทำชั่วกรรมก็มักจะตามทัน เพราะช่วงขากลับ เฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งของคณะเกิดขัดข้องและตกลงที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน และที่สำคัญในเครื่องยังพบซากสัตว์ป่าจำนวนมาก และจากเหตุการณ์นี้เอง ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน และกลายเป็นหนึ่งในชนวนสำคัญที่นำมาสู่เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยของนัก ศึกษาและประชาชน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516

27 เมษายน 2523 (กรุงเทพฯ)

อุบัติเหตุ ในครั้งนี้ เกิดขึ้นกับเครื่องบินของบริษัทเดินอากาศไทย โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้น เกิดจากความพยายามของนักบินที่จะลงจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองให้ได้ แต่ด้วยสภาพอากาศเลวร้าย ฝนตกหนัก ส่งผลให้เครื่องบินเสียการทรงตัว และตกกระแทกพื้นดินในที่สุด ทั้งที่จริงๆ ก็เกือบจะถึงสนามบินอยู่แล้ว และจากเหตุการณ์นี้เอง ส่งผลให้ผู้โดยสาร 40 คน จาก 49 คน และลูกเรืออีก 4 คนเสียชีวิตทันที

15 เมษายน 2528 (ภูเก็ต)

เหตุการณ์ ครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินตกครั้งแรกบนเกาะภูเก็ตก็คง ไม่ผิด โดยเครื่องบินที่ตกเป็นของบริษัทเดินอากาศไทยอีกแล้ว โดยครั้งนี้มีผู้สาร 11 คน สำหรับสาเหตุการตกก็มาจากทัศนวิสัยที่ไม่ดีเท่าที่ควร แถมยังเดินทางในเวลากลางคืนอีกด้วย โดยหลังจากเดินทางไปได้ระยะหนึ่ง นักบินก็วิทยุแจ้งหอบังคับการบินว่าเครื่องยนต์เกิดปัญหาขัดข้อง จะขอลงจอดที่สนามบินภูเก็ต แต่ยังไม่ทันจะลงถึง เครื่องยนต์ก็หยุดชะงัก และหล่นกระแทกพื้นอย่างจัง ส่งผลให้ผู้โดยสารทั้งหมดเสียชีวิตคาที่

31 สิงหาคม 2530 (ภูเก็ต)

ผ่าน ไปเพียง 2 ปี เหตุเศร้าสลดก็เกิดขึ้นที่ตัวเมืองภูเก็ตอีกครั้ง แต่คราวนี้มีผู้โดยสารและลูกเรือรวมกัน 83 ชีวิต ทะยานขึ้นจากสนามบินหาดใหญ่ มีจุดหมายที่สนามบินภูเก็ต ด้วยระยะห่างของสนามบินจะไม่ยาวนานนัก ทำให้หลายคนไม่คาดคิดว่า หายนะจะเกิดขึ้นอีกครั้ง แต่หลังจากที่ เครื่องบินเดินทางมาใกล้ถึงจุดหมายก็เกิดสิ่งไม่คาดฝันขึ้น เพราะจู่ๆ เครื่องยนต์ก็เกิดขัดข้องขึ้น บนน่านน้ำของ อ่าวปอ จ.ภูเก็ต กัปตันพยายามควบคุมเครื่องให้ได้ รวมทั้งติดต่อไปที่หอบังคับการบิน แต่หลังจากติดต่อได้ไม่นานเสียงกัปตันก็เงียบลง พร้อมกับข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่คนทั้งประเทศ เพราะเครื่องบินได้ดิ่งลงทะเลเป็นที่เรียบร้อย

9 กันยายน 2531 (ปทุมธานี)

หลัง เหตุการณ์ที่ภูเก็ตผ่านไปได้เพียงเดียว บ้านเราก็ได้รับข่าวเศร้าอีกครั้ง คราวนี้เป็นคิวของสายการบินเวียดนาม ซึ่งเดินทางจากกรุงฮานอยมุ่งหน้ามาที่สนามบินดอนเมือง พร้อมผู้โดยสารและลูกเรือรวม 81 คน

สำหรับ สาเหตุของการตก เป็นเพราะในช่วงที่นักบินกำลังจะนำเครื่องลง เกิดฝนตกอย่างหนัก และที่สำคัญยังมีรายงานว่าเครื่องถูกฟ้าผ่า ส่งผลให้นักบินรีบลดระดับความสูงลง โดยตั้งใจจะรีบนำเครื่องลงให้ได้ แต่ปรากฏว่าลงผิดเป้าหมาย เพราะแทนที่จะไปลงที่สนามบินดอนเมือง กลับนำเครื่องไปลงบริเวณทุ่งนา ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีแทน เครื่องเลยกระแทกกับพื้นเต็มแรง และเกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นทันที ส่งผลให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต 76 คน ขณะที่มีผู้รอดตายมีเพียง 6 คนเท่านั้น ซึ่งในจำนวนนี้มีนักบิน 1 รวมอยู่ด้วย

21 พฤศจิกายน 2533 (สุราษฎร์ธานี)

หลัง เกิดเหตุร้ายที่เกาะอันดับ 1 ของไทย คราวนี้มาถึงคิวของเกาะอันดับ 2 อย่างสมุยบ้าง โดยเหตุนี้เกิดขึ้นเครื่องบินขนาดย่อมแบบ ‘แดช-8’ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งพาผู้โดยสารและลูกเรือจำนวน 38 คน เดินทางจากสนามบินดอนเมืองมุ่งหน้สู่เกาะสมุย แต่เมื่อเข้าใกล้จุดหมายเกิดลมพายุและอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง เครื่องบินขนาดเล็กเกินกว่าจะต้านทานไหว หัวเลยปักกระแทกพื้น โดยไม่มีใครรอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเลย!!!

26 พฤษภาคม 2534 (สุพรรณบุรี)

หาก ถามว่า เหตุการณ์เครื่องบินตกครั้งไหนรุนแรงและสยองขวัญที่สุดในเมืองไทย เชื่อว่าคงไม่หนีไม่พ้นอุบัติเหตุเครื่องบินของเลาด้าแอร์ตกอย่างแน่นอน เพราะในครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้โดยสารไปถึง 223 คน โดยเป็นคนไทยจำนวน 39 คน ซึ่งหลายคนก็มีชื่อเสียง อย่างนายวินิจ วินิจฉัยภาค รองราชเลขาธิการ นายไพรัตน์ เดชะรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

สำหรับ สาเหตุของโศกนาฏกรรมนั้นครั้งนี้มาจากความขัดข้องทางด้านเทคนิคของตัว เครื่องบินเอง โดยหลังจากที่เครื่องทะยานขึ้นจากสนามบินดอนเมือง เพื่อเดินทางไปที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้เพียง 16 นาที ก็เกิดระเบิดกลางอากาศ เหนือบ้านหนองร่อง จังหวัดอุทัยธานี ก่อนพุ่งเข้าชนกับภูเขาในพื้นที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ส่งผลให้เครื่องบินแตกกระจายไปคนละทิศคนละทาง ผู้โดยสารทั้งหมดไม่มีใครรอดชีวิตเลย ทั้งศพและซากเครื่องบินกระจายอยู่ทั่วบริเวณเขาใหญ่ หรือเขาพุเตย กินพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร ส่งผลให้หลังเกิดเหตุหน่วยกู้ภัยต้องใช้เวลานานหลายวันกว่าจะเคลียร์พื้นที่ ได้หมด

19 กันยายน 2540 (นราธิวาส)

วัน ที่ 19 กันยายน ไม่ได้เพียงแค่วันเกิดของ คมช. เท่านั้น แต่ย้อนกลับไปก่อนนั้นสัก 9 ปี ยังเป็นที่เกิดเหตุสลดในเมืองไทยด้วย เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เกิดขัดข้องและชนยอดเขาตกลงกลางป่า บริเวณเทือกเขาลิจอ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลให้ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ เสียชีวิตถึง 14 ท่าน ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ฯ ราชเลขานุการในพระองค์ ท่านผู้หญิงทวี มณีนุช ฯลฯ

11 ธันวาคม 2541 (สุราษฎร์ธานี)

หลัง จากไม่อุบัติเหตุมาเกือบ 10 ปี ในที่สุดการบินไทยก็ไม่สามารถรักษามาตรฐานความปลอดภัยเอาไว้ได้ เนื่องจากในคืนวันนั้นได้เกิดการณ์สยดสยองขึ้น เมื่อจู่ๆ สถานีโทรทัศน์ทุกช่องได้รายงานข่าว เครื่องบินตกที่สุราษฎร์ธานี โดยสาเหตุของการตกก็น่าจะมาจากทัศนวิสัยของอากาศเป็นหลัก ประกอบคนในเครื่องจำนวนมากต่างใช้โทรศัพท์มือถือ ทำให้คลื่นวิทยุการบินถูกรบกวนและไม่สามารถติดต่อได้ ส่งผลให้มีเสียชีวิตมากถึง 101 คน มีบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น ดร.ธวัช วิชัยดิษฐ์ ส.ส.สุราษฎร์ธานี และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนผู้บาดเจ็บมีจำนวนทั้งสิ้น 45 คน หนึ่งในนั้นก็คือ ‘เจมส์’ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องชื่อดัง ซึ่งต่อมาได้รับฉายาว่า ‘นักร้องกระดูกเหล็ก’

3 มีนาคม 2544 (กรุงเทพฯ)

ใครจะไปคิดว่า นายกรัฐมนตรีหมาดๆ (ในตอนนั้น) อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะมีคนคิดปองร้ายด้วยการวางระเบิดเครื่องบินที่เขาเตรียมจะนั่ง โดยเรื่องราวทั้งหมดก็คือ ในวันนั้นทักษิณมีกำหนดจะต้องไปราชการที่เชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันขึ้นเครื่อง ก็เกิดเหตุระเบิดในเครื่องบินเสียก่อน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในเครื่องเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บอีก 7 คน หลังจากนั้นก็มีตั้งชุดสืบสวนขึ้นมา โดยมุ่งเป้าไปที่วางระเบิด เนื่องจากตรวจพบสารเคมีทำความเย็นวางอยู่ใต้เบาะของผู้เสียชีวิต ส่วนทักษิณเองก็เชื่ออย่างสนิทใจว่านี่เป็นความตั้งใจลอบสังหารตนแน่นอน โดยคนที่ทำน่าจะเป็นผู้เสียประโยชน์จากการประกาศสงครามกับยาเสพติด

แต่หลังจากตรวจสอบอยู่พักใหญ่ สุดท้ายเรื่องก็โอละพ่อ เพราะเหตุผลจริงๆ ที่เครื่องบินระเบิดนั้นมาจากการขัดข้องของตัวเครื่องเอง แต่ทั้งนี้ดูเหมือนทักษิณจะไม่ค่อยเชื่อผลตรวจสักเท่าใด และจากเรื่องนี้เอง ที่ส่งผลให้เขากลายเป็นคนโรคจิต และชอบนึกว่าจะมีคนจ้องฆ่าอยู่ตลอดเวลา!!

16 กันยายน 2550 (ภูเก็ต)

นี่ คืออุบัติเหตุเครื่องบินตกครั้งที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต โดยครั้งนี้ผู้รับผิดชอบเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ชื่อ วันทูโก โดยเหตุการณ์ก็คือ ในวันนี้เป็นวันที่อากาศไม่ค่อยแจ่มใสเท่าใดนัก มีฝนตกกหนักตลอดทั้งวัน ขณะที่เครื่องบินเล็กซึ่งบินมาจากดอนเมืองกำลังทะยานลงจอดที่ท่าอากาศยาน ภูเก็ต ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่ออยู่ๆ เครื่องบินก็เกิดลื่นไถลออกนอกรันเวย์ไปชนกับกำแพงดิน พร้อมเกิดระเบิดตามมา 2 ครั้ง ทำให้เครื่องบินหักเป็น 2 ท่อน และมีไฟลุกไหม้ มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 89 คน และบาดเจ็บอีก 41 คน

4 สิงหาคม 2552 (สุราษฎร์ธานี)

อุบัติเหตุ ครั้งนี้ เกิดมาจากเครื่องบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เกิดลื่นไถลออกนอกรันเวย์ และพุ่งชนหอบังคับการบินของสนามบินเกาะสมุย ทำให้เครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะส่วนหัวที่ยุบลง ส่งผลให้นักบินคนเดียวเสียชีวิตทันที ส่วนผู้โดยสารทั้งหมดรอดชีวิตราวปาฏิหาริย์

**********************

ความน่าจะเป็นของอุบัติเหตุทางการบิน

จาก อุบัติเหตุทางการบินที่เกิดขึ้นในไทยเกือบร้อยครั้ง ทำให้เกิดความสงสัยว่า โดยเนื้อแท้แล้ว การพยายามเลียนแบบนกของมนุษย์นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน?

“อุบัติเหตุ ที่เกิดจากการบินนั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง เรื่องอากาศไม่ดี หรือไม่ก็อาจเป็นที่เครื่องเขามีปัญหาหรือเปล่า การที่ข้อผิดพลาดหลายๆ อย่างมาประจวบเหมาะกันนี้เรียกกันว่าทฤษฎี ‘สวีส ชีส’ เหมือนกับเนยแข็งที่มีรู อุบัติเหตุจะเกิดได้ ก็ต้องเป็นจังหวะที่ทุกรูอยู่ตรงกันพอดี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสีย อากาศไม่ดี นักบินไม่พร้อม” นักบินจากสายการบินแห่งหนึ่งของประเทศไทย บอกเล่าถึงองค์ประกอบของการเกิดอุบัติเหตุทางการบิน

“อย่าง เคสล่าสุดที่เกาะสมุย อากาศไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีธันเดอร์ สตอร์ม (ฝนฟ้าคะนอง) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีครอสวินด์ (ลมขวาง) เกือบจะ 90 องศา เร็ว 15 นอต ซึ่งถ้าถามว่าเร็วมากไหม ก็ไม่มาก แต่ถือว่าแรง และสนามบินที่สมุยนั้น เป็นรันเวย์ที่สั้นกว่าสนามบินสุวรรณภูมิถึงครึ่งหนึ่ง มีช่องเขาอยู่ตรงกลางรันเวย์ ทำให้ลมค่อนข้างแรง ดังนั้น จึงลงจอดยาก หากเป็นเครื่องใหญ่ๆ ถ้าทัศนวิสัยไม่ดีก็จะไม่ลง แต่เครื่องที่เกิดอุบัติเหตุเป็นเครื่องเล็ก ที่นักบินยังรู้สึกว่าลงได้สบายๆ

“ตาม ทฤษฎีแล้ว ถ้ามองเห็นถึงความเป็นไปได้ของปัญหา นักบินต้องตัดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งออก ถ้าอากาศไม่ดีพอที่จะลง ก็ต้องบินรอให้อากาศดีขึ้น อุบัติเหตุอาจจะไม่เกิด”

และเมื่อถามถึงประเภทของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการบิน ก็พบว่าตั้งแต่เครื่องเริ่มขึ้นจนถึงที่หมายมีอันตรายแฝงอยู่นับไม่ถ้วน

“มัน มีความเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเหตุหลายอย่างมาก ช่วงที่อันตรายที่สุดคือช่วงเทค ออฟ เพราะว่าในขณะนั้นต้องเร่งความเร็วขึ้นจากจุดที่ยังไม่มีความเร็วเลย ไปจนกระทั่งบินขึ้นได้ แต่ถ้าถามเรื่องของความยากนั้น การแลนดิ้งนั้นยากกว่า และอุบัติเหตุจะเกิดเยอะกว่า ต้องใช้ฝีมือ ส่วนในระหว่างบินก็มีความเป็นไปได้ในการเกิดอยู่บ้าง แต่ไม่มาก และถ้ามันเกิดขึ้น นักบินก็จะหาทางลงจอดฉุกเฉินในที่ว่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโชคแล้วว่าเครื่องมีปัญหาที่บริเวณไหน ถ้าอยู่กลางมหาสมุทรก็ยากหน่อย เพราะการลงจอดในน้ำอันตรายกว่าบนบกมาก ในกรณีนี้นักบินทุกคนก็จะได้รับการฝึกให้รับมือกับทุกสถานการณ์ และก็จะมีการทดสอบอยู่เรื่อยๆ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องหยุดบินก่อน จนกว่าจะสอบผ่าน

“คือ การเป็นนักบิน ยิ่งปอดมากก็ยิ่งปลอดภัย นักบินก็รักชีวิต ไม่มีใครอยากตายหรอก นักบินก็อยากที่จะเอาตัวรอดเหมือนคนอื่นๆ บนเครื่อง”

***************************

เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
ภาพ : ทีมภาพ CLICK

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพถ่ายดาวเทียม