วันนี้มีข่าวเรื่องภัยพิบัติด้านสุขภาพมาฝากค่ะ โดยเฉพาะท่านสุภาพสตรีต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เรื่อง...มะเร็งปากมดลูก ความสำคัญก็คือ เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีการตรวจพบในระยะเริ่มแรก ลองมาศึกษาดูนะคะว่าเป็นอย่างไร ...ท่านสุภาพบุรุษก็ศึกษาได้ค่ะ ตามมาสิคะ
มะเร็งปากมดลูก
- สาเหตุ : คือ การติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวี (HPV) บริเวณอวัยวะเพศ
โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก
ปัจจัยเลี่ยง : ของมะเร็งปากมดลูก ได้แก่
1. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การสูบบุหรี่ มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น
2. ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย เนื่องจากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีีเพศสัมพันธ์ จึงกล่าวได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อเอชพีวี (ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อ) แม้เพียงครั้งเดียว ก็มีโอกาสติด เชื้อเอชพีวีและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย ได้แก่ สตรีที่มี คู่นอนเป็นมะเร็งองคชาติ เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผ่านประสบการณ์ ทางเพศตั้งแต่อายุน้อยหรือมีคู่นอนหลายคน- อาการของมะเร็งปากมดลูก
อาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ในระยะแรกอาจ
ไม่มีอาการ ผิดปกติ แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยวิธีแปปสเมียร์
อาการที่อาจพบในผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ได้แก่
อาการตกเลืิอดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90
ของผู้ป่วย ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลัง
มีเพศสัมพันธ์ มีน้ำปนเลือด ตกขาวปนเลือด เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง
ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น - การวินิจฉัยโรค :
1. การตรวจภายใน หากหากพบก้อนผิดปกติที่ปากมดลูก แพทย์จะตรวจยืนยันโดยการ ตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไป ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
2. การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ “แปปสเมียร์” เป็นการตรวจ ภายในร่วมกับการเก็บเอาเซลล์บริเวณปาก มดลูกไปตรวจทางเซลวิทยา
3. การตรวจด้วยกล้องขยาย หรือ คอลโปสโคป ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
4. การตรวจอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การขูดภายในปากมดลูก การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด
- การรักษา :
วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นกับระยะของมะเร็ง ความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย
และโรคทางนรีเวช อื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย
การรักษาในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม มีวิธีการติดตามและรักษาได้หลายวิธี ได้แ่ก่ การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น การจี้ด้วยเลเซอร์ การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด หลังจากนั้นควรตรวจติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดย การตรวจภายในและทำแปปสเมียร์ หรือตรวจด้วยกล้องขยายทุก 4 – 6 เดือน โดยรอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1 – 2 ปี
- มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อมของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา
- มะเร็งในระยะแรก รักษาโดยการตัดมดลูกออก ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก และจะให้ การรักษาต่อด้วยรังสีรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรคสูง
- มะเร็งในระยะหลัง รักษาด้วยรังสีรักษา หรือร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
ผลการรักษามะเร็งปากมดลูกในปัจจุบันได้ผลดีมากขึ้นกว่าในอดีต โดยเฉพาะในระยะก่อน
ลุกลาม และระยะลุกลามเริ่มแรก โดยในระยะก่อนลุกลามการรักษาได้ผลดีเกือบ100 %
ดังนั้นการตรวจค้นหา มะเร็งในระยะแรกเริ่มด้วยการตรวจแปปสเมียร์จึงมีความสำคัญมาก
โดยสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วควรรับการตรวจภายในทุกคน
- การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจค้นหามะเร็งในระยะแรกด้วยการตรวจแปปสเมียร์
- ไม่ควรมีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
- ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
- งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจภายใน
- ไม่ควรเหน็บยาใด ๆ ในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
- ควรมารับการตรวจมะเร็งหลังประจำเดือนหมดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้วให้มาได้ตามสะดวก
ที่มา http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/uterscancer.php
ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
สธ.เปิดบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกทั่วไทยฟรี 1 ล้านคน
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ แถลงข่าว
“การเปิดบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกทั่วประเทศ 116 วัน ฟรี เริ่มตั้งแต่วันแม่ถึงวันพ่อ” ว่า ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุที่ทำให้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่ง ปีละกว่า 3,000 ราย เฉลี่ยวันละ 8 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 6,000 – 8,000 ราย พบมากในช่วงอายุ 35-50 ปี มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
นายชวรัตน์กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ไม่ว่าสิทธิใดๆ ฟรี เริ่มตั้งแต่วันแม่ถึงวันพ่อ 116 วัน โดยเปิดให้บริการในสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดทุกแห่งทั่วประเทศ ในวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ตั้งเป้าให้ได้จำนวน 1 ล้านราย
โดยสามารถตรวจได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธีแป๊บสเมียร์ (Pap smear) คือ การป้ายเซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง และ วิธีวีไอเอ (VIA) ตรวจด้วยกรดน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 3-5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งง่ายทั้ง 2 วิธี ใช้เวลาตรวจไม่ถึงรายละ 5 นาที โดยการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไม่สามารถดำเนินการได้เฉพาะสูตินรีแพทย์ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน
เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้เป็น 1 ในโรคที่เกิดจากวิถีชีวิต โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ทางด้าน น.พ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวข้องคือ การติดเชื้อไวรัสหงอนไก่ที่มีชื่อว่า เอชพีวี หรือ ฮิวแมน แป็บปิลโลม่าไวรัส (HPV: Human Papilloma Virus) ไวรัสตัวนี้จะทำให้เยื่อบุปากมดลูกเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาก่อตัวประมาณ 10 ปี จึงกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งจะพบมากที่สุดในผู้หญิงอายุ 35-50 ปี และร้อยละ 60 พบอยู่ในระยะลุกลามไปที่อื่นแล้ว รักษาได้ผลน้อย
ในการป้องกันมะเร็งชนิดนี้จึงต้องเริ่มตรวจหาตั้งแต่เนิ่นๆ คือ อายุ 35, 40, 45, 50, 55, 60 ปี น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงวิธีการตรวจหาเซลล์มะเร็งด้วยวิธีวีไอเอว่า เป็นวิธีการที่รวดเร็ว โดยใช้น้ำส้มสายชูชนิดเจือจางป้ายที่บริเวณปากมดลูก ทิ้งไว้ 1 นาที หากเนื้อเยื่อที่ปากมดลูกมีความผิดปกติ ก็จะมองเห็นเป็นฝ้าขาว เป็นวงชัดเจน และตำแหน่งแน่นอน ซึ่งรอยฝ้าที่เห็นยังไม่เป็นมะเร็ง แต่หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้ วิธีนี้เหมาะสมในผู้หญิงอายุ 30-45 ปี และหลังจากที่พบรอยฝ้าแล้วก็จะให้การรักษาเบ็ดเสร็จด้วยวิธีการจี้เย็น (Cryotherapy) โดยใช้ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์จี้บริเวณรอยฝ้า ความเย็นจะทำให้เยื่อที่ผิดปกติหลุดลอกไป ใช้เวลาประมาณ 13 นาทีต่อคน และนัดมาตรวจแผลที่ปากมดลูกอีก 3 เดือน และตรวจวีไอเอซ้ำทุก 1 ปี หากพบอีกก็จะส่งไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติด้วยวิธีอื่น เพื่อแนะนำการรักษาที่ดีที่สุด
ที่มา : http://www.bankok-today.com/?bkk=1,1,5,0
To the owner of this blog, how far youve come?You were a great blogger.
ตอบลบthank you.
ตอบลบ